หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน
กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน
มุกดาหาร
ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงแขวงสวันเขต มีหมู่บ้านชุมชนใหญ่ชื่อบ้านหลวงโพนสิน ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณพระธาตุอิงฮัง แขวงสวันเขตในปัจจุบัน โดยมีเจ้าจันทรสุริยวงศ์ปกครอง มีบุตรชายชื่อเจ้ากินรี ซึ่งต่อมาได้ข้ามลำน้ำโขงมาฝั่งขวาที่บริเวณปากห้วยมุก สร้างบ้านแปลงเมืองขึ้น ณ ที่นั้นในปี พ.ศ. 2310 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2313 และตั้งชื่อเมืองว่า “มุกดาหาร”
อันเกิดจากศุภนิมิตรที่พบเห็นในขณะที่กำลังสร้างเมือง ชาวเมืองทั่วไปเรียกมุกดาหารว่าเมืองมุกในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เจ้ากินรีเป็นพระยาจันทรศรีสุราช อุปราชามัณฑาตุราช ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองคนแรกของเมืองมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2321 เดิมเมืองมุกดาหารมีฐานะเป็นเมืองขึ้นการปกครองกับมณฑลอุดร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 มีการปรับปรุงการปกครองมณฑลอุดรเป็นจังหวัด และเมืองมุกดาหารจึงถูกยุบเป็นอำเภอเมืองมุกดาหาร ขึ้นการปกครองกับจังหวัดนครพนม
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหารขึ้นเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่ 17 ของภาคอีสาน จังหวัดมุกดาหารเป็นประตูด่านสำคัญสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน มีความสัมพันธ์ฉันท์บ้านพี่น้องกับแขวงสวันเขต สปป.ลาว มาช้านาน โดยมีแม่น้ำโขงซึ่งมีความยาวถึง 70 กิโลเมตร เป็นเส้นกั้นพรมแดน และมีความโดดเด่นในด้านชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆที่มีถึง 8 เผ่าได้แก่ เผ่าไทยอีสาน ภูไท ไทยข่า กระโซ่ ไทยย้อ ไทยกะเลิง ไทยแสกและไทยกุลา และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม มุกดาหารมีพื้นที่ประมาณ 4,339.830 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอคำชะอี อำเภอดอนตาล อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดงหลวง อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอหนองสูง
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร และอำเภอนา แก จังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ และอำเภอหนองพอก อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสวันเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง จังหวัด กาฬสินธุ์
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร โทร. 0 4261 2297 ,0 4263 2379
เทศบาลเมืองมุกดาหาร โทร. 0 4261 1227
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
สภอ.เมืองมุกดาหาร โทร. 0 4263 3533
โรงพยาบาลมุกดาหาร โทร. 0 4261 2977
ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดมุกดาหาร โทร. 0 4263 2878
สถานีขนส่ง โทร. 0 4261 1478,0 4263 0486
อันเกิดจากศุภนิมิตรที่พบเห็นในขณะที่กำลังสร้างเมือง ชาวเมืองทั่วไปเรียกมุกดาหารว่าเมืองมุกในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เจ้ากินรีเป็นพระยาจันทรศรีสุราช อุปราชามัณฑาตุราช ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองคนแรกของเมืองมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2321 เดิมเมืองมุกดาหารมีฐานะเป็นเมืองขึ้นการปกครองกับมณฑลอุดร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 มีการปรับปรุงการปกครองมณฑลอุดรเป็นจังหวัด และเมืองมุกดาหารจึงถูกยุบเป็นอำเภอเมืองมุกดาหาร ขึ้นการปกครองกับจังหวัดนครพนม
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหารขึ้นเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่ 17 ของภาคอีสาน จังหวัดมุกดาหารเป็นประตูด่านสำคัญสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน มีความสัมพันธ์ฉันท์บ้านพี่น้องกับแขวงสวันเขต สปป.ลาว มาช้านาน โดยมีแม่น้ำโขงซึ่งมีความยาวถึง 70 กิโลเมตร เป็นเส้นกั้นพรมแดน และมีความโดดเด่นในด้านชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆที่มีถึง 8 เผ่าได้แก่ เผ่าไทยอีสาน ภูไท ไทยข่า กระโซ่ ไทยย้อ ไทยกะเลิง ไทยแสกและไทยกุลา และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม มุกดาหารมีพื้นที่ประมาณ 4,339.830 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอคำชะอี อำเภอดอนตาล อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดงหลวง อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอหนองสูง
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร และอำเภอนา แก จังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ และอำเภอหนองพอก อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสวันเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง จังหวัด กาฬสินธุ์
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร โทร. 0 4261 2297 ,0 4263 2379
เทศบาลเมืองมุกดาหาร โทร. 0 4261 1227
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
สภอ.เมืองมุกดาหาร โทร. 0 4263 3533
โรงพยาบาลมุกดาหาร โทร. 0 4261 2977
ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดมุกดาหาร โทร. 0 4263 2878
สถานีขนส่ง โทร. 0 4261 1478,0 4263 0486
หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก
สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห้ว ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี หอแก้วมุกดาหารมีลักษณะเป็นหอคอยรูปทรงกระบอก มีความสูง 65.50 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางตัวแกนหอคอย 6 เมตร ส่วนฐานมีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น ทรงเก้าเหลี่ยมแทนความหมายถึงรัชกาลที่ 9 มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เมตร มีทางเข้าออก 3 ทาง
ชั้น 1 จัดแสดงเครื่องมือเครือ่งใช้ในการดำรงชีวิตของชาวมุกดาหาร
ชั้น 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติเมืองมุกดาหาร วัตถุโบราณ ภาพถ่ายเก่า ตลอดจนเครื่องแต่งกายชาวไทยพื้นเมืองมุกดาหาร 8 เผ่า ส่วนแกนหอคอยเริ่มตั้งแต่ชั้น 3 ถึงชั้น 6 สูง 50 เมตร ส่วนหอชมวิวและโดม สูง 15 เมตร บนยอดสูงสุดเป็นที่ตั้งของ "ลูกแก้วมุกดาหาร" มีลักษณะกลมสีขาวหมอกมัว ทำจากประเทศเยอรมนี มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เมตร การขึ้นไปชมจะมีลิฟต์และบันไดเวียนอำนวยความสะดวก โดยมีชั้นสำหรับชมนิทรรศการและทัศนียภาพรอบด้านในระดับต่างๆรวม 4 ระดับ คือ ชั้นที่ 1,2,6และ7
บนชั้นที่ 6 มีกล้องส่องทางไกลไว้รอบด้านเพื่อชมทิวทัศน์ในระยะไกล นอกจากจะเห็นเมืองมุกดาหารในมุมสูงแล้ว ยังสามารถมองเห็นเมืองคันทะบุลี แขวงสะหวันนะเขด ที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำโขงได้อย่างชัดเจน หอแก้วมุกดาหารเปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.ค่าข้าชมคนละ 20 บาท
ชั้น 1 จัดแสดงเครื่องมือเครือ่งใช้ในการดำรงชีวิตของชาวมุกดาหาร
ชั้น 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติเมืองมุกดาหาร วัตถุโบราณ ภาพถ่ายเก่า ตลอดจนเครื่องแต่งกายชาวไทยพื้นเมืองมุกดาหาร 8 เผ่า ส่วนแกนหอคอยเริ่มตั้งแต่ชั้น 3 ถึงชั้น 6 สูง 50 เมตร ส่วนหอชมวิวและโดม สูง 15 เมตร บนยอดสูงสุดเป็นที่ตั้งของ "ลูกแก้วมุกดาหาร" มีลักษณะกลมสีขาวหมอกมัว ทำจากประเทศเยอรมนี มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เมตร การขึ้นไปชมจะมีลิฟต์และบันไดเวียนอำนวยความสะดวก โดยมีชั้นสำหรับชมนิทรรศการและทัศนียภาพรอบด้านในระดับต่างๆรวม 4 ระดับ คือ ชั้นที่ 1,2,6และ7
บนชั้นที่ 6 มีกล้องส่องทางไกลไว้รอบด้านเพื่อชมทิวทัศน์ในระยะไกล นอกจากจะเห็นเมืองมุกดาหารในมุมสูงแล้ว ยังสามารถมองเห็นเมืองคันทะบุลี แขวงสะหวันนะเขด ที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำโขงได้อย่างชัดเจน หอแก้วมุกดาหารเปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.ค่าข้าชมคนละ 20 บาท
หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก เป็นอาคารหอคอยสูง 7 ชั้น มีชั้นที่แบ่งพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ได้แก่ ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 ชั้นที่ 6 และชั้นที่ 7 อยู่ริมถนนทางหลวงหมายเลข 2034 โดยรอบมีถนนลักษณะเป็นรูปวงกลมมีหอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกอยู่ตรงกลาง สามารถเข้าไปยังลานจอดรถได้ตามถนนรอบๆ หอแก้วนี้หากวันไหนนักท่องเที่ยวมากันมากแทบจะหาที่จอดรถไม่ได้แต่ในวันนี้เป็นวันธรรมดานักท่องเที่ยวจึงไม่มากนักจอดรถริมถนนด้านหน้าหอแก้วแล้วเดินผ่านประตูเข้ามาจะเห็นหอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกเด่นตระหง่าน
หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก เดินเข้ามาตามทางเดินไม่มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมควรมีร่มติดมาด้วยครับเพราะระหว่างทางเดินแดดร้อนมาก ตรงชั้น 1 หรือฐานของหอแก้วมีประตูและกระจกปิดโดยรอบเข้าไปจ่ายค่าเข้าชมภายใน รองเท้าต้องถอดไว้ด้านนอกอาคาร
หอแก้วจำลอง แบบจำลองย่อส่วนหอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกตั้งแสดงไว้ตรงประตูทางเข้า
เครื่องจักสานแบบโบราณ เป็นหนึ่งในของเก่าแก่ที่หาดูได้ยากที่ได้นำมาแสดงไว้ในหอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นของใช้ในภูมิภาคอิสานในหลายสมัย ที่เห็นอยู่นี้มีลักษณะเหมือนกระเป๋าเป้สะพายหลังและของใช้อื่นๆ
ชมวิวบนชั้น 6 หลังจากที่เดินศึกษาพิพิธภัณฑ์ชั้นที่ 1 และชำระค่าเข้าชมแล้วก็ใช้ลิฟท์ขึ้นไปยังชั้น 6 เพื่อชมวิวรอบๆ เมืองมุกดาหารโดยที่หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกจะแบ่งโซนตั้งกล้องชมวิวไว้ 3 โซน และพื้นที่รอบ 360 องศารอบหอ จะจัดแสดงนิทรรศการความรู้ต่างๆ 6 โซน คือโซนที่ 1 เยือนถิ่นวัฒนธรรมริมโขง โซนที่ 2 เมืองริมฝั่งโขงเชื่อมโยงสองแผ่นดิน มุกดาหาร - สุหวันนะเขต โซนที่ 3 แนวภูและดงป่า เที่ยวธรรมชาติตระการตา โซนที่ 4 หมู่บ้านทอผ้าวัฒนธรรมผู้ไทย โซนที่ 5 แม่น้ำโขงสายน้ำแห่งอุษาคเนย์ โซนที่ 6 มุกดาหารประตูสู่อินโดจีน
บันไดขึ้นชั้น 7 จากชั้น 6 ไปชั้น 7 จะมีแต่บันไดให้เดินลิฟท์จะขึ้นมาถึงชั้น 6 เท่านั้น เช่นเดียวกันเมื่อจะเดินขึ้น-ลงระหว่างชั้น 1 และ ชั้น 2 จะมีบันไดให้เพื่อความประหยัดพลังงาน เมื่อชมวิวและนิทรรศการต่างๆ เรียบร้อยแล้วก็ได้เวลาขึ้นไปสักการะไหว้พระนวมิ่งมงคลมุกดาหาร
พื้นที่บนชั้น 7 เดินขึ้นบันไดจากชั้น 6 ขึ้นมาจะผ่านประตูเล็กๆ ให้สามารถเดินออกไปตีระฆังได้ตีระฆังเสร็จแล้วเดินขึ้นมาอีกนิดหน่อยก็ถึงบริเวณชั้น 7 ซึ่งมีพื้นที่จำกัด ตรงกลางประดิษฐานพระนวมิ่งมงคลมุกดาหารพร้อมโต๊ะหมู่บูชา
พระนวมิ่งมงคลมุกดาหาร เป็นพระพุทธรูปเนื้อเงินแท้บริสุทธิ์ หน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร
พระธาตุ ด้านหน้าองค์พระนวมิ่งมงคลมีตู้กระจกใสภายในมีพระธาตุต่างๆ ได้แก่ พระอรหันตธาตุ 500 องค์ พระธาตุทรายทับทิม ธาตุพระอานนท์ ธาตุพระสิวลี ธาตุพระสารีบุตร เป็นต้น
นิทรรศการในหอแก้ว เมื่อเที่ยวชมทิวทัศน์ด้านบนของหอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก เสร็จแล้วก็กดลิฟท์ลงมาที่ชั้น 2 เพื่อชมนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กๆ ที่มีความรู้เกี่ยวกับดินแดนที่ราบสูงและประเทศเพื่อนบ้านได้เป็นอย่างดีอย่างข้อมูลตรงนี้เกี่ยวกับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
หอก ทวน ง้าว โบราณ เป็นอาวุธในอดีต สิ่งของที่ตั้งแสดงอยู่ในชั้นที่ 2 ของหอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ส่วนใหญ่จะเป็นของจริงในสมัยนั้น เพียงบางชิ้นที่ต้องสร้างจำลองขึ้นมาเพื่อเป็นความรู้สู่ลูกหลาน
เครื่องประดับชาวไทยอิสาน
ตะกรุดอิสาน ส่วนใหญ่ทำมาจากเขี้ยวของสัตว์ ที่นิยมก็ได้แก่ หมูป่า เสือ
ลูกประคำทองคำ มี 108 เม็ดเป็นเครื่องยศเจ้าเมืองชิ้นที่แสดงอยู่นี้เป็นของจำลองขึ้นใหม่ครับ
นิทรรศการชาวไทยข่า ตรงนี้เป็นข้อมูลที่ละเอียดมากของชาวไทยข่า ไทยแสก และไทยย้อ ซึ่งเป็นชนเผ่าหนึ่งในหลายๆ เผ่าของภาคอิสาน
การแต่งกายอิสานแบบต่างๆ นิทรรศการแสดงการแต่งกายของชาวไทยที่แต่เดิมมีเอกลักษณ์ของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งปัจจุบันยังหาดูได้เป็นบางกลุ่ม
บั้งเมล์ บั้งเมล์หรือบั้งจุ้ม บ้องไม้ไผ่สำหรับใส่เอกสาร ใช้ใส่เอกสารจากหมู่บ้านเข้าไปยังเมือง หรือใส่เอกสารจากเมืองมายังหมู่บ้าน เรียกว่า บั้งเมล์ หากใช้ใส่เอกสารสำคัญ เช่นพงศาวดาร และมีหลายกระบอกรวมสุมกันเรียกว่าบั้งจุ้ม มาถึงตรงนี้แล้วชักจะสงสัยแล้วว่าคนอิสานหรือว่าชาวต่างชาติกันแน่ที่เป็นคนคิดค้น hotmail (ฮา) สำหรับเครื่องใช้ที่ทำจากไม้ไผ่ของชาวไทยในอดีตยากที่จะเรียบเรียงได้ครบหมด ในสมัยนี้นอกจากข้าวหลามแล้วนึกถึงสิ่งของอย่างอื่นที่ใช้ไม่ไผ่เป็นส่วนประกอบได้ยากขึ้นทุกวัน
เงินพดด้วง ในตู้แสดงนี้จัดแสดงเงินแบบต่างๆ ที่ไทยเคยใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยน เช่น เงินพดด้วง เงินลาด เงินอ้อย เงินงบน้ำอ้อย นอกจากนี้ยังมีอีกมากมายที่ไม่ขอนำมาแสดงในหน้าเว็บไซต์ดีกว่าเพราะคงต้องใช้รูปภาพอีกจำนวนมากจึงจะนำข้อมูลที่จัดแสดงที่หอแกวมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก มาได้ทั้งหมด
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่บ้านสงเปือย ตำบลบางไทรใหญ่ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศเหนือ 7 กิโลเมตร โดยข้ามไปลงที่ บ้านนาแก เมืองคันทะบูลี ซึ่งอยู่ห่างจากตัวแขวงสะหวันนะเขตไปทางทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 โดยรูปแบบสะพานเป็นสะพานคอนกรีต 2 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้าง 8 เมตร ไหล่ทางข้างละ 1.5 เมตร ความยาวสะพานทั้งสิ้น 2,702 เมตร
สะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 2 นี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเส้นทางขนส่ง เชื่อมโยงจากตะวันออกคือเมืองดานัง (เวียดนาม) ข้ามแม่น้ำโขงที่แขวงสะหวันนะเขต ต่อมายังมุกดาหาร และผ่านไปยังตะวันตกที่ชายแดนไทย-พม่า ที่อำเภอแม่สอด และเมืองเมียวดี และไปสิ้นสุดที่ เมืองมะละแหม่งของพม่า
ในการเดินทางข้ามสะพานฯ จะต้องใช้บริการรถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศเท่านั้น โดยค่าโดยสารท่านละ 45 บาท โดยฝั่งไทยจะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมเหยียบแผ่นดิน ส่วน สปป.ลาว มีการจัดเก็บดังนี้ หนังสือเดินทาง (Passport) วันธรรมดา 20 บาท วันหยุด 40 บาท หนังสือผ่านแดน (Borderpass และ Temporary Borderpass) วันธรรมดา 50 บาท วันหยุด 100 บาท โดยมีจุดจอดรถโดยสารบริเวณเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2
สะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 2 นี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเส้นทางขนส่ง เชื่อมโยงจากตะวันออกคือเมืองดานัง (เวียดนาม) ข้ามแม่น้ำโขงที่แขวงสะหวันนะเขต ต่อมายังมุกดาหาร และผ่านไปยังตะวันตกที่ชายแดนไทย-พม่า ที่อำเภอแม่สอด และเมืองเมียวดี และไปสิ้นสุดที่ เมืองมะละแหม่งของพม่า
ในการเดินทางข้ามสะพานฯ จะต้องใช้บริการรถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศเท่านั้น โดยค่าโดยสารท่านละ 45 บาท โดยฝั่งไทยจะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมเหยียบแผ่นดิน ส่วน สปป.ลาว มีการจัดเก็บดังนี้ หนังสือเดินทาง (Passport) วันธรรมดา 20 บาท วันหยุด 40 บาท หนังสือผ่านแดน (Borderpass และ Temporary Borderpass) วันธรรมดา 50 บาท วันหยุด 100 บาท โดยมีจุดจอดรถโดยสารบริเวณเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 วิวยามเช้าของสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 แสงสีดีจริงๆสำหรับวันที่เปิดให้ประชาชนเข้าชมสะพานก่อนการเปิดใช้อย่างเป็นทางการช่วงปีใหม่ 2549 ทำให้เราได้มาเดินเที่ยวที่นี่ซึ่งเป็นโอกาสเดียวเท่านั้น
ผู้สื่อข่าว เดินเล่นบนสะพานหลังจากวันนี้เป็นต้นไปก็จะห้ามขึ้นเพื่อเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการแล้ว ด้านหลังเป็นด่านตรวจก่อนที่จะข้ามไปยังฝั่งลาว สะพานนี้กว้าง 2 ช่องทางให้รถสวนกันได้
พาครอบครัวกับเจ้าหมามาเดินเล่น วิวด้านหลังเป็นแม่น้ำโขงที่ไกลสุดสายตา
ผลัดกันอุ้ม.. ระยะทางที่เดินบนสะพานถือว่าำไกลมากครับสำหรับพุดเดิลมันเลยเดินไม่ไหวต้องอุ้มเอา
ทางแยก
สะพานมิตรภาพไทยลาวอีกมุมหนึ่ง ไว้สักวันคงได้มาใช้บริการขับรถข้ามแดนแล้วจะมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้งครับ
ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง ตั้งอยู่บนถนนสำราญชายโขง ริมแม่น้ำโขง ติดกับท่าด่านตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดมุกดาหาร ศาลแห่งนี้เดิมเป็นศาลไม้ไม่ทราบประวัติความเป็นมา ต่อมาได้มีการบูรณะเป็นศาลคอนกรีต ชาวจังหวัดมุกดาหารถือว่าศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่กับศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ชาวจังหวัดมุกดาหารจะจัดให้มีพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมืองและเจ้าแม่สองนางพี่น้องพร้อมกัน
ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง เป็นบันไดทางขึ้นที่ปกติจะมีคนเอาดอกไม้และเครื่องบูชามาขาย ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง อยู่เยื้องๆ กันกับวัดศรีมงคลใต้ซึ่งหากเดินทางมาเที่ยวที่ตลาดอินโดจีนสามารถจอดรถบริเวณวัดศรีมงคลใต้ หน้าศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง ก็ได้ บริเวณใกล้เคียงกันก็ยังมีท่าเรือโดยสารสำหรับเดินทางข้ามพรมแดนไปยังลาวได้ ให้เข้าไปติดต่อด่านตรวจคนเข้าเมืองก่อนครับ
ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง บนศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง เป็นห้องกระจกมีประตูเลื่อนปิดเปิดได้ ภายในห้ามจุดเทียนธูปให้จุดนอกห้องกระจกครับ
อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ
เดิมชื่อ อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 59 ของประเทศไทยมีเนื้อที่ 48.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 30,312.5 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองมุกดาหารและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางมุกดาหาร-ดอนตาล(ทางหลวงหมายเลข 2034) แยกเข้าทางขวามืออีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ หรือ นั่งรถจากกรุงเทพฯไปลงที่สถานีขนส่งมุกดาหาร และต่อรถสองแถว (สีเหลือง) ค่าโดยสารประมาณ 5 บาทไปลงที่ตลาดพรเพชร แล้วต่อรถสองแถวสายมุกดาหาร – ดอนตาล ค่าโดยสารประมาณ 10 บาท ลงที่ปากทางเข้าอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบหรือบอกให้คนขับรถเข้าไปส่งที่อุทยานฯก็ได้
ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายประกอบด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่หลายลูกติดต่อกัน แบบลูกคลื่นและเป็นส่วนปลายสุดของเทือกเขาภูพาน เทือกเขาเหล่านี้วางตัวในลักษณะแนวเหนือ-ใต้ขนานและห่างจากชายฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 4 กิโลเมตร ภายในอุทยานฯประกอบด้วยภูหมากยาง ภูมโน ภูโปร่ง ภูรัง ภูจอมนาง ภูหมากมี่ ภูผาเทิบ ภูนางหงส์ ภูถ้ำพระ ภูหลักเสและยอดเขาสูงสุดคือ ยอดภูจอมศรี มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 170-420 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เต็งรัง และป่าเบญจพรรณ และยังเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยตาเหลือก ห้วยสิงห์ ห้วยเรือ ห้วยมะเล ห้วยช้างชน เป็นต้น แถบบริเวณเชิงเขาเป็นป่าไผ่ขึ้นสลับเป็นแนว หลายบริเวณเป็นหน้าผาสูงและลานหินกว้าง มีหินรูปร่างแปลกๆ มากมาย
ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายประกอบด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่หลายลูกติดต่อกัน แบบลูกคลื่นและเป็นส่วนปลายสุดของเทือกเขาภูพาน เทือกเขาเหล่านี้วางตัวในลักษณะแนวเหนือ-ใต้ขนานและห่างจากชายฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 4 กิโลเมตร ภายในอุทยานฯประกอบด้วยภูหมากยาง ภูมโน ภูโปร่ง ภูรัง ภูจอมนาง ภูหมากมี่ ภูผาเทิบ ภูนางหงส์ ภูถ้ำพระ ภูหลักเสและยอดเขาสูงสุดคือ ยอดภูจอมศรี มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 170-420 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เต็งรัง และป่าเบญจพรรณ และยังเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยตาเหลือก ห้วยสิงห์ ห้วยเรือ ห้วยมะเล ห้วยช้างชน เป็นต้น แถบบริเวณเชิงเขาเป็นป่าไผ่ขึ้นสลับเป็นแนว หลายบริเวณเป็นหน้าผาสูงและลานหินกว้าง มีหินรูปร่างแปลกๆ มากมาย
ป้าย Unseen
เก็บให้ทั่ว
สมาชิก
สมาชิกอาวุโส
ให้ทั่ว2
แก่งกะเบา
เป็นแก่งหินยาวเหยียดตามลำน้ำโขง บนฝั่งก็ยังมีลานหินกว้างใหญ่เป็นที่พักผ่อนได้อย่างดี ในฤดูแล้งน้ำลดจนเห็นเกาะแก่งกลางน้ำ และหาดทรายสวยกว่าฤดูอื่นๆ บริเวณริมแก่งกระเบามีร้านอาหารตั้งอยู่ อาหารพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อของที่นี่ คือ หมูหันซึ่งมีรสชาติอร่อยตามแบบฉบับสูตรเด็ดของท้องถิ่น
การเดินทาง ใช้เส้นทางมุกดาหาร-ธาตุพนม (ทางหลวงหมายเลข 212) ประมาณ 20 กิโลเมตร แยกขวาไปอำเภอหว้านใหญ่อีก 9 กิโลเมตร จะพบทางแยกไปแก่งกะเบา ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศเหนืออีก 8 กิโลเมตร
การเดินทาง ใช้เส้นทางมุกดาหาร-ธาตุพนม (ทางหลวงหมายเลข 212) ประมาณ 20 กิโลเมตร แยกขวาไปอำเภอหว้านใหญ่อีก 9 กิโลเมตร จะพบทางแยกไปแก่งกะเบา ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศเหนืออีก 8 กิโลเมตร
รูปครอบครัวที่แก่งกะเบา ไหนๆ ก็เดินทางมากันแล้วการถ่ายรูปกับป้ายย่อมไม่มีวันหายไปจากนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นแน่ แม้ว่าวันนี้เดินทางมาไม่ถูกจังหวะเวลาที่เหมาะสมแต่ก็เป็นประสบการณ์ที่ดีที่จะได้เตรียมตัวใหม่ในคราวหน้า
แก่งกะเบา น้ำยังไม่น้อยพอจึงเห็นโขดหินได้ไม่มากนัก ช่วงที่ไปเป็นช่วงปีใหม่ที่ปกติระดับน้ำในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ อย่างน้ำตกจะไม่ค่อยมีไหลแต่ที่แม่น้ำสายนี้ ช่วงเวลาที่น้ำจะลดระดับลงมาพอที่จะเห็นแก่งกะเบาก็คือช่วงเมษายน ซึ่งว่ากันว่าสามารถเดินข้ามแม่น้ำโขงได้เลย
ตลาดอินโดจีน
ตลาดอินโดจีน แหล่งช้อปปิ้งใจกลางเมืองมุกดาหาร ติดริมแม่น้ำโขง นานาสินค้าราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้านหลั่งไหลเข้ามาให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อ มีตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอาง อาหารการกิน ของที่ระลึกต่าง ๆ มากมาย บรรยากาศของตลาดอินโดจีนจะคึกคักตั้งแต่เช้าจรดเย็นโดยเฉพาะถ้าเป็นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ผู้คนจะไปจับจ่ายซื้อของกันมากเป็นพิเศษ
สี่แยกตลาดอินโจีน เป็นทางแยกที่ตรงกับศาลาเรารักมุกดาหารพอดี หากต้องการเดินทางมายังตลาดอินโดจีนแล้วกลัวว่าจะหลงทางเมื่อเข้าเขตจังหวัดมุกดาหารให้พยายามขับถนนเลียบแม่น้ำโขงครับยังไงๆ ก็ต้องเจอแน่ เมื่อถึงสี่แยกนี้ยังสามารถเลือกได้ว่าจะจอดไว้ที่ถนนสมุทรศักดารักษ์ หรือว่าจะขับเข้าไปในตลาดหาที่จอดหน้าวัดศรีมงคลใต้ดีแต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่มีที่จอด แต่วันนี้ผมมาเก็บภาพในวันธรรมดาจะดูเงียบเหงาไปหน่อยแต่ถ้าวันเสาร์อาทิตย์จะคึกคักกว่านี้มาก
เครื่องครัวราคาประหยัด เดินเข้าซอยมาไม่นานก็จะเจอร้านนี้ มีเครื่องครัวนานาชนิดหลากหลายขนาดให้เลือกซื้อเลือกหา ดูจากสภาพแบบนี้เคยซื้อมาใช้เหมือนกันทีแรกคิดว่าอยู่ได้ไม่นานก็ต้องเสียแน่ อย่างมีดทำครัวเอาเข้าจริงอยู่ได้หลายปีทีเดียวครับ
ศาลาเรารักมุกดาหาร อาศัยเป็นจุดนัดพบกับเพื่อนๆ ที่เดินทางมาด้วยกันก็ได้ครับรับรองหากันเจอแน่ ศาลาเรารักมุกดาหารเป็นศาลาริมแม่น้ำโขงซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับตลาดอินโดจีนมีขนาดใหญ่มองเห็นได้ง่าย
ตลาดอินโดจีน สำหรับวันนี้เป็นวันธรรมดาจึงทำให้ผู้คนดูเงียบเหงา สำหรับผมแล้วการจะหาของที่ต้องการสักอย่างบางทีไม่ต้องมาวันเสาร์อาทิตย์ก็ได้ สินค้าที่ตลาดอินโดจีนมีมากมายหลายอย่าง ส่วนมากราคาจะถูกมากมาจากประเทศเพื่อนบ้าน หลายคนมาซื้อของที่นี่เป็นประจำ บางคนถึงกับเอาไปขายยึดเป็นอาชีพก็มี สินค้าที่จะพบเห็นได้มากหน่อยก็ได้แก่ของกินแบบขนมขบเคี้ยว เครื่องครัว เสื้อผ้า มีผ้าไหมด้วยครับ เทวรูปเทพเซียนต่างๆ อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมือช่าง อุปกรณ์เดินป่า แคมปิ้งฯลฯ นอกจากตลาดที่เห็นในรูปแล้วตลาดอินโดจีนยังมีชั้นใต้ดินอีกด้วย
เส้นทางเศรษฐกิจ จังหวัดมุกดาหารถือว่าเป็นเส้นทางเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก EAST WEST ECONOMIC CORRIDOR (EWEC) ไม่ใช่การค้าลูกชิ้นปิ้งนะครับพอดีร้านลูกชิ้นบังป้าย เดินมาสุดทางตรงนี้จะถึงศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง ด้านซ้ายมือจะเห็นประตูวัดศรีมงคลใต้ด้านขวามือเป็นท่าเรือโดยสารระหว่างประเทศไทย-ลาว เดินต่อไปอีกนิดก็จะมีด่านตรวจคนเข้าเมืองครับ
เฮือนกาแฟ สำหรับการแวะชิมกาแฟนับว่าเป็นกิจกรรมที่ผมจะทำเป็นประจำไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหน สำหรับตลาดอินโดจีนที่มุกดาหารก็มีร้านนี้แหละครับที่ผมอยากแนะนำ เฮือนกาแฟ (เฮือน เป็นภาษาอิสานแปลว่าบ้าน แต่ถ้าออกเสียงแบบอิสานบางส่วนจะออกเสียงว่า เฮียน ครับ) กับการดัดแปลงเอารถกระบะมาเป็นร้านขายกาแฟเคลื่อนที่ แม้ว่าจะเห็นได้บ่อยแต่ร้านที่สร้างด้วยไม้ลักษณะเหมือนบ้านทรงไทยแบบคันนี้ละก็มีไม่เยอะครับ
ท่าเรือระหว่างประเทศ เรือโดยสารหลายลำจอดรอผู้โดยสารตามตารางการเดินเรือครับ
เทียบท่ารอเวลา นอกจากที่ท่าเรือโดยสารยังมีเรืออีกหลายลำที่รอคิวเข้าเทียบท่า แสดงให้เห็นจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยเรือในแต่ละวันคงจะมีไม่น้อย
หากินทางน้ำ วิวแม่น้ำโขงที่ตลาดอินโดจีนแห่งนี้กว้างสุดสายตาเหมือนทะเลเลยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น